เมื่อวันที่ 14/11/2564 ที่ผ่านมาในระหว่างการเดินทางไปยัง วัดอุดมคงคาคีรีเขต นั้น ผมพบว่าเส้นทางก่อนถึงหน้าวัดได้มีชาวบ้าน ตากข้าวบนถนนเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลายๆคนอาจจะมองว่านี่คือวิถีชีวิต ที่ทำกันมาช้านาน แต่จริงๆแล้วการกระทำดังกล่าวมีความผิดทาง “กฎหมาย” นะครับ

ทำไมถึงต้องตากข้าวบนถนน?
ส่วนใหญ่ที่ผมได้สอบถามดูก็มีเหตุผลอยู่คร่าวๆไประมาณนี้
- ไม่มีพื้นที่ตาก ข้าวตากฝน น้ำท่วม ถ้าไม่รีบตาก ราจะขึ้น ขาดทุน
- ถนนร้อน ทำให้ข้าวแห้งไว
- ใครๆเขาก็ตากกัน (ใครๆเขาก็ทำกัน)
- ตากมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่
- ฯลฯ
ตากข้าวบนถนนผิดกฎหมายไหม?
ถ้าถามถึงข้อกฎหมายต้องบอกว่า ผิดกฎหมายแน่นอน การนำข้าวมาตากริมถนนและไหล่ทางเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ. 2535 ที่ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดติดตั้ง แขวน วาง หรือกองสิ่งใดเขตทางหลวงในลักษณะที่เป็นการกีดขวางหรืออาจเป็นอันตรายแก่ยานพาหนะ หรือในลักษณะที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางหลวงหรือความไม่สะดวกแก่งานทาง เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ซึ่งหากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้การตากข้าวบนถนนอาจจะทำให้คนอื่นๆได้รับอุบัติเหตุ ซึ่งมีข่าวมากมาย ตัวอย่างเช่น
- เสี่ยบิ๊กไบค์ ไม่ถอนแจ้งความ รถล้มเพราะชาวนาตากข้าวบนถนน ไม่ขอโทษก็เป็นไปตามกฎหมาย
- นร.ขับชน ดับ1 สาหัส1 ขี่รถจักรยานยนต์ไปเฉี่ยวชนกองข้าวเปลือก
- กระบะชนกัน 3 คัน จ.นครราชสีมา เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2562 เพราะไม่ทันระวังข้าวเปลือกที่ชาวนาตากไว้
- ฯลฯ


ซึ่งส่วนใหญ่คนที่นำข้าวมาตากบนถนนก็มักจะขอความเห็นใจ หรือความสงสาร เพราะหากข้าวเน่าจะทำให้เจ๊งและขาดทุน ซึ่ง บางคนถึงขั้นปิดถนนหมู่บ้าน หรือปิดถนนบางเส้นทางเพื่อตากข้าวเลยก็มี
